ความเสี่ยงของโรครองช้ำ

ความเสี่ยงโรครองช้ำ

ความเสี่ยงใกล้ตัวที่ทำให้คุณเป็นโรครองช้ำ

          อาการปวดฝ่าเท้าปวดส้นเท้าหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นอาการเมื่อยล้าจากการเดินหรือยืนมากๆ ทำธรรมดา จึงมักจะมองข้ามและไม่ทำการหาสาเหตุที่แท้จริง แต่ความจริงแล้วอาการปวดส้นเท้าในหลายๆ ครั้งเป็นอาการแรกเริ่มของ โรครองช้ำ หรือโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ซึ่งโรคนี้หากไม่ทำการรักษาตั้งแต่เนินๆ จะทำให้มีอาการเรื้อรังและทำให้ปวดส้นเท้าได้เป็นอย่างมาก

อาการของโรครองช้ำ

  • ปวดหรือเจ็บบริเวณส้นเท้า โดยมักจะปวดตั้งแต่ตื่นนอนและก้าวแรกที่ลงจากที่นอน ซึ่งอาการจะสามารถเป็นเฉพาะบริเวณฝ่าเท้าหรือลามไปทั่วทั้งเท้า
  • ปวดที่ฝ่าเท้าและส้นเท้าเมื่อเดินมาขึ้นหรือลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้ามากขึ้น ลักษณะอาการปวดสามารถปวดแบบจี๊ดๆ หรือปวดแบบไม่มาก แต่มักจะปวดมากขึ้นเมื่อลงน้ำหนักหรือเดินบ่อยๆ
  • ปวดหลังจากการออกกำลังกาย รวมทั้งหากเดินหรือยืนนานๆ จะมีอาการปวดฝ่าเท้าและจากรุนแรงขึ้นเรื่อย

ความเสี่ยงใกล้ตัวที่ทำให้เป็นโรครองช้ำ

          โรครองช้ำ เกิดจากเอ็นที่ฝ่าเท้ามีอาการอักเสบ โดยเส้นเอ็นที่ฝ่าเท้าจะมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ แผ่เต็มฝ่าเท้าเป็นตัวรับแรงกระแทกเมื่อเราเดิน ยืน หรือใช้งานเท้า แต่เมื่อมีการใช้งานเอ็นฝ่าเท้ามากเกินไปจึงทำให้เกิดการอักเสบได้ ซึ่งสาเหตุของโรครองช้ำมีดังนี้

  • การยืนหรือการเดินติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะคนที่ทำอาชีพที่จำเป็นต้องยืนอยู่ตลอดเวลาส้นเท้าจะรับน้ำหนักและแรงกดเป็นเวลานานจึงทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย
  • การเลือกรองเท้าที่ไม่เหมาะสมมีผลโดยตรงต่อสุขภาพเท้าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะรองเท้าส้นสูง รองเท้าที่คับ บีบรัด หรือหลวมเกินไปจะทำให้เท้ารับน้ำหนักเป็นบางจุดมากเกินไปจนทำให้เกิดการกดทับ
  • มีน้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์ ซึ่งจะทำให้เท้ารับน้ำหนักมากกว่าคนปกติจึงเกิดอาการอักเสบได้ง่าย
  • มีปัญหาโรครูมาตอยด์ ซึ่งโรคนี้จะทำให้การอักเสบที่เส้นเอ็นที่เชื่อมต่อกับกระดูกง่ายอยู่แล้ว
  • การทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม อาทิ การออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้น เปลี่ยนลักษณะการออกกำลังกายจากเคยวิ่งพื้นหญ้าเป็นวิ่งพื้นถนน เป็นต้น

 

ซึ่งโดยปกติแล้วโรครองช้ำมักจะเป็นในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้น และเป็นมากในผู้สูงอายุเพราะการเสื่อมสภาพของพังผืดที่ใช้งานมาเป็นเวลานาน แต่หากคนหนุ่มสาวยังทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมทั้งการยืนการเดินเป็นเวลานานและการเลือกรองเท้าที่ไม่เหมาะกับการใช้งานก็จะทำให้สามารถเป็นโรครองช้ำได้เช่นกัน  

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  คลินิกกระดูกและข้อหมอสุทธิ์ ราม2 

 

เรื่องอื่นๆที่น่สนใจ

ร่วมแชร์กับ Getstorypoint

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *