อาการแบบไหนที่เรียกว่า “นิ้วล็อค”

นิ้วล็อค

นิ้วล็อค โรคใกล้ตัวของคนติดมือถือ

          เป็นอีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยจริงๆ สำหรับ โรคนิ้วล็อค ซึ่งก่อนหน้านี้มักจะเป็นในผู้หญิงวัยกลางคนหรืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันหนุ่มสาววัยทำงานมีอาการนิ้วล็อคเพิ่มมากขึ้น เพราะพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานานๆ รวมทั้งการใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วย และแม้ว่าโรคนิ้วล็อคในระยะแรกๆ จะสามารถหายเองได้ แต่หากปล่อยไว้นานๆ จนลุกลามกลายเป็นระยะ 3 ระยะ 4 อาจจะทำให้ข้องอล็อคจนไม่สามารถคายออกได้เลยทีเดียว

อาการนิ้วล็อคเป็นอย่างไร

          อาการนิ้วล็อคจะมี 4 ระยะ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการได้ด้วยตัวเอง หากพบความผิดปกติในระยะ 1 และระยะ 2 ควรรีบพักการใช้มือ ประคบร้อน ให้อาการหายเป็นปกติ หากยังมีอาการซ้ำๆ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ แต่หากปล่อยอาการลุกลามจนระยะ 3 และระยะ 4 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะรีบเข้ารับการรักษาเพราะหากปล่อยไว้ข้อจะติดง้อจนไม่สามารถใช้งานได้ถนัด โดยอาการ 4 ระยะของโรคนิ้วล็อคมีดังนี้

          ระยะที่ 1 ปวดฝามือแต่ยังสามารถเคลื่อนไหวนิ้วได้ปกติ

          ระยะที่ 2 อาการสะดุดเมื่อง้อนิ้ว เพราะปลอกเส้นเอ็นตีบแคบลงเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น แต่ยังสามารถใช้งานนิ้วได้

          ระยะที่ 3 เมื่อกำมือหรือใช้งานมือหนักๆ จะมีอาการนิ้วล็อคค้าง เหยียดนิ้วออกเองไม่ได้ต้องใช้มืออีกข้างช่วยคายนิ้วให้ตรง

          ระยะที่ 4 มีอาการปวดมือมาก กำมือไม่ได้หรือกำมือได้แต่เหยียดออกเองไม่ได้ ต้องใช้มืออีกข้างมาช่วยคายนิ้วให้ตรง จึงทำให้ไม่สามารถใช้งานมือได้อยากปกติ

ทำอย่างไรเมื่อมีอาการนิ้วล็อค

          อาการนิ้วล็อคเป็นอาการเสื่อมถอยของร่างกายอย่างหนึ่งเมื่อเราใช้งานเส้นเอ็นที่นิ้วหนักเกินไปหรือใช้มาเป็นเวลานานจึงทำให้เส้นเอ็นเกิดเสื่อม ซึ่งพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เส้นเอ็นที่นิ้วเสื่อมไวขึ้นคือการกำมือแน่นเป็นเวลานาน ซ้ำๆ หรือใช้ข้อมือออกแรงซ้ำๆ  เช่นการบิดผ้า, การใช้มือถือด้วยแรงกดมากๆ เป็นเวลานาน เป็นต้น โดยหากเริ่มมีอาการในระยะ 1 ให้พักการใช้มือและประคบร้อนจนกว่าจะหายเป็นปกติ แต่หากยังมีอาการอยู่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาก่อนจะลุกลามจนกระทั้งใช้งานมือไม่ได้

 

          เรียกได้ว่าโรคนิ้วล็อคเป็นอีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะหากเริ่มมีอาการแล้ว ดูแลรักษาตั้งแต่เนินๆ ก็จะทำให้สามารถใช้งานมือได้อย่างปกติ แต่หากปล่อยให้อาการลุกลามจนกระทั้งระยะที่ 4 จะทำให้การรักษาให้หายขาดยากขึ้นและยังมีอาการปวดมากอีกด้วย 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  คลินิกกระดูกและข้อหมอสุทธิ์ ราม2 

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

ร่วมแชร์กับ Getstorypoint